รวมวิธีปิดหนี้บัตรเครดิต เห็นผลจริง

หัวข้อเด่นในเรื่องนี้

หลายคนคงมีบัตรเครดิต 1 ใบ 2 ใบ หรือ 3 ใบ การที่จะมีบัตรเครดิตนั้นต้องคิดให้ดีว่าต้องการมันมาทำอะไร ต้องการใช้จ่ายอะไร ตอบสนองความต้องการของตนเอง หรือ เอามาเพื่อปิดหนี้หรือเงินกู้นอกระบบ บัตรเครดิตทำให้สถานภาพทางการเงินของเรานั้นมีสภาพคล่องตัว ไม่ติดขัด แต่หลายคนมีบัตรเครดิตหลายใบจนคิดที่อยากจจะ ปิดหนี้บัตรเครดิต เพราะด้วยภาระหนี้สินที่จะต้องส่งทุกเดือนจ จึงอยากจะตัดสินใจปิดเพื่อให้เกิดความสบายใจและจะได้มีเหลือและเงินเก็บ

ปิดหนี้บัตรเครดิต

รวมวิธี ปิดหนี้บัตรเครดิต ที่รับรงได้ว่าเห็นผลจริงทำได้แน่นอน

1.หยุดสร้างหนี้ใหม่

การสร้างหนี้ใหม่เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายปกติ ทำเหมือนกับว่าไม่มีหนี้เก่าอยู่ ความต้องการของคนในครอบครัวอยากได้อะไรก็จะหามาให้แม้กระทั่งความต้องการของตนเอง ใช้บัตรเครดิตรูดแล้วรูดอีก วงเงินก็หมดลงไปเรื่อยๆ ทำให้เกิดปัญหาหนี้สินรุงรังแก้ไม่หายสักที ดังนั้นยอมรับความจริงทั้งกับตนเองและครอบครัว เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจปัญหาของเรา เพื่อตัวของคุณเองที่จะได้เริ่มแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจังและไม่ก่อหนี้เพิ่มได้

2.สำรวจหนี้สินและลำดับการชำระหนี้สิน

ในการสำรวจข้อมูลหนี้สินของคุณคุณควรที่จะลำดับข้อมูลต่อไปนี้ รายการหนี้ ยอดรวมหนี้สิน อัตราดอกเบี้ย ยอกชำระขั้นต่ำ ระยะเวลาผ่อนชำระที่เหลือ

ตัวอย่าง

  • บัตรเครดิต A ยอดหนี้ทั้งหมด 40,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 20% ยอดชำระขั้นต่ำ 8,000 บาท
  • บัตรเครดิต B ผ่อนซื้อโทรศัพท์ ยอดหนี้รวม 15,000 บาท ดอกเบี้ย 0% ยอดชำระขั้นต่ำ 1,500 บาท เหลือระยะเวลาผ่อนอีก 10 เดือน
  • บัตรเครดิต C ยอดหนี้รวม 30,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 12% ต่อเดือน มียอดชำระขั้นต่ำ 3,000 บาท

จากการจัดลำดับยอดหนี้จะให้ได้ว่ายอดหนี้ที่จะต้อง ปิดหนี้บัตรเครดิต เป็นอันดับแรกคือ หนี้ A เพราะเป็นหนี้ก้อนใหญ่และเสียดอกเบี้ยแพงที่สุด เพราะถ้าหากปล่อยไว้นานอัตราดอกเบี้ยก้จะยิ่งเพิ่มขึ้น ลำดับต่อมาคือหนี้ B เป็นหนี้ที่ต้องผ่อนชำระตามจำนวนในการผ่อนสินค้าตามข้อตกลง เพราะถุงอย่างไรก็ต้องจ่าย หนี้สุดท้ายคือ หนี้ C เป็นหนี้ที่ดอกเบี้ยต่ำสุด อาจจะเลือกจ่ายโดยการแบ่งเงินที่จะจ่าย หนี้ C ไปจ่าย หนี้ A เพื่อที่จะทำให้ ปิดหนี้บัตรเครดิต A ได้หมดเร็วยิ่งขึ้น

รวบวิธีปิดหนี้บัตร

3.ปิดหนี้บัตรเครดิต ต้องจ่ายมากกว่าขั้นต่ำ

อัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิตสูง และยังจ่ายเป็นรายเดือน ทำให้ยอกหนี้ไม่ค่อยลดลงสักเท่าไหร่ เหตุผลที่ควรจ่ายมากกว่าขั้นต่ำ ไม่ใช่เพื่อ ปิดหนี้บัตรเครดิตได้เร็วขึ้น เป็นการทำให้ดอกเบี้ยไม่เกิดการบานปลายอีกด้วย

ตัวอย่าง

  • ยอดบัตรเครดิต 40,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 20% ต่อปี จ่ายขั้นต่ำ 8,000 บาท (10%)
    สรุปยอดทุกวันที่ 24 และกำหนดชำระบัตรทุกวันที่ 10 สมมติว่า เริ่มสรุปยอดวันที่ 24 มี.ค.
  • ขั้นที่ 1
    40,000 บาท x 20% x 17 (วันที่ 24 มี.ค. – 10 เม.ย.) ÷ 365 วัน = 372.60 บาท
  • ขั้นที่ 2
    32,000 บาท (จ่ายขั้นต่ำ 8,000 บาท) x 20% x 15 (วันที่ 10 เม.ย. – 24 เม.ย.) ÷ 365 วัน = 263 บาท
  • หลังจากที่จ่ายไปป จะต้องจ่ายดอกเบี้ยทั้งสองขั้น ยอดค้างจะอยู่ที่ 32,000 + 372.60 +263 = 32,635.6 รวมที่ต้องจ่ายดอกเบี้ย 635 บาท ลองคิดดูว่าเป็นหนี้บัตรเครดิตหลายใบค่าดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายจะมากขนาดไหนกัน

4.รีไฟแนนท์บัตรเครดิต ลดดอกเบี้ย

การรีไฟแนนท์บัตรเครดิตจะเหมาะกับผู้ที่ที่คิดว่าดอกเบี้ยของบัตรตนเองสูงเกินไป อยากลดดอกเบี้ย หรือ มีบัตรเครดิตอยู่หลายใบจนเกิดภาระทางการเงินขึ้นมา เป็นการรวมบัตรหลายใบเพื่อจัดการให้ได้ง่ายขึ้น การขอสินเชื่อเป็นการลดภาระต่อเดือนลง เพราะผ่อนชำระได้นานถึง 12 – 72 เดือน โดยตามเงื่อนไขของธนาคาร

วิธีการและเงื่อนไขที่จำกัด

  • ระยะเวลาการผ่อน 12 เดือน 24 เดือน หรือ 12-60 เดือน หรือจนถึง 72 เดือน โดยอายุรวมของระยะเวลาในการผ่อนไม่เกิน 60 ปี
  • อายุการทำงาน 6 เดือน ขึ้นไป
  • รายได้ประจำต่อเดือน 30,000 บาท ขึ้นไป
  • มีประวัติการใช้บัตรเครดิต 2 ปี ขึ้นไป

ปิดหนี้บัตร

5.รวมหนี้สินด้วยสินเชื่อจำนองสินทรัพย์

วิธีนี้ไม่แนะนำให้กับผู้ที่สามารถจัดการหนี้สินได้อยู่ เพราะการที่ทำแบบนี้ถือว่ามีความเสี่ยงสูงมากที่จะเสียทรัพย์สินไปอย่างมาก วิธีนี้ให้เป็นทางเลือกสุดท้ายจริงๆ
หากมีหนี้สินหลายรายการ เช่น หนี้บัตรเครดิต หนี้สินส่วนบุคคล ภาระด้านรถยนต์ หนี้ดังกล่าวอัตราดอกเบี้ยก็แตกต่าง เพราะสินเชื่อเหล่านี้คิดอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าการจำนองสินทรัพย์ เช่น รถแลกเงิน บ้านแลกเงิน ที่ดินแลกเงิน ที่ดินแลกเงิน อัตราดอกเบี้ยไม่ถึง 10% ต่อปี ถ้าคุณกู้สินเชื่อก้อนใหญ่เพื่อมาปิดหนี้ก้อนอื่นๆ การทำแบบนี้จะทำให้คุณมีความหวังในการที่จะหมดหนี้เร็วๆ แต่อย่าลืมว่ายังมีหนี้ที่เพิ่งไปกู้มาเพื่อปิดหนี้อื่นๆ

6.ขอประนอมหนี้กับสถาบันการเงิน

หากปัญหาหนี้สินของคุณไม่สามารถไปต่อได้อีกหนึ่งช่องทางคือ การขอประนอมหี้กับสถาบันการเงิน โดยให้เหตุผลสถานการณ์ทางการเงินเป็นเช่นไร สามรรถขอความช่วยเหลือจากสถาบันทางการเงินได้

  • ขอขยายเวลาในการชำระหนี้ ให้ยอดชำระของคุณแต่ละงวดลดลง
  • ขอให้คิดอัตราดอกเบี้ยแบบปกติที่ไม่ผิดนัด เป็นการขอความช่วยเหลือจริงๆ ในกรณีที่จำเป็นจริงๆ และต้องทำตามสัญญาตามที่ตกลงกับสถาบันการเงินด้วย
  • หยุดดอกเบี้ยชั่วคราว เพื่อผ่อนชำระตัดเงินต้นให้มากในช่วงหนึ่ง เร่งปิดหนี้ ลดดอกเบี้ย
  • เจรจาขอลดหนี้ที่ค้างชำระบางส่วน ส่วนใหญ่ ค้างชำระนาน สถาบันทางการเงินจะยืนข้อเสนอนี้มาให้เอง เพราะประเมินว่าไม่มีทางชำระคืนได้แน่นอน

7.สร้างนิสัยทางการเงินที่ดี จ่ายบัตรเครดิตเต็มจำนวน

สร้างนิสัย วินัยทางการเงินควบคุมการใช้จ่ายในแต่ละวันในแต่ละเดือน ถ้ามีแผนที่ชัดเจนก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เช่น

  • การติดตามรายรับ-รายจ่าย  ได้รู้ว่ารายรับรายจ่ายของคุณต่อเดือนมีเดือนเท่าไหร่ และยังสามารถมองเห็นปัญหาอีกด้วย จนกระทั่งมองเห็นรายจ่ายที่ไม่จำเป็นอีกด้วย
  • ทำงบประมาณรายจ่าย  ตั้งงบประมาณที่จะใช้จ่ายจริงๆ ซึ่งตัวของคุณเองจะรู้โดยอัตโนมัติว่าจะต้องจ่ายค่าอะไรบ้างในแต่ละวันในแต่ละเดือน โดยดูจ่ายบัญชีรายรับรายจ่ายของคุณ
  • ฝากเงินบัญชีเงินฝากประจำ เป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้คุณมีสภาพทางการเงินที่ดี จะไม่สามารถกดเงินมาใช้ได้ก่อนถึงเวลาที่กำหนด ทำการผูกบัญชีเงินเดือนเข้ากับบัญชีเงินฝากประจำและวตั้งระบบหักเงินอัตโนมัติ เพื่อให้เป็นเงินออมและสามารถเก็บขึ้นไปเรื่อยๆ อย่างสม่ำเสมอ ช่วยสร้างเครดิตให้คุณที่ดีในการขอกู้เงินจากสถาบันทางการเงินอื่นๆ อีกด้วย

เรียบเรียง : 168creditcards.com

ขอบคุณข้อมูล : blog.ghbank.co.th