สมัครบัตรเครดิต KTC ออนไลน์ ทำได้ไหม ใช้อะไรบ้าง ?
ในปัจจุบันมีนวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นมาเยอะแยะมากมาย และห […]
หัวข้อเด่นในเรื่องนี้
เราก็ต้องมีการจ่ายชำระคืนบัตรตามที่เราใช้ไปนั้น ซึ่งการจ่ายชำระคืนนี้ก็ควรที่จะจ่ายเต็มจำนวนที่เราได้ใช้ไป เพื่อที่จะป้องกันไม่ให้มีภาระดอกเบี้ยจ่ายนั่นเอง โดยส่วนใหญ่แล้วจะแนะนำให้กันเงินส่วนหนึ่งไว้ให้เท่ากับจำนวนเงินที่เรารูดใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิตไป เพื่อที่เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระคืนเราจะได้ชำระคืนได้เต็มจำนวน ซึ่งการชำระคืนเต็มจำนวนนี้จะทำให้เรานั่นไม่ต้องเสียดอกเบี้ย รวมถึงไม่ถูกยกเลิกระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยในรอบบัญชีต่อไปอีกด้วย
ซึ่งจะเห็นได้ว่าการจ่ายชำระคืนเต็มจำนวนนั้นมีข้อดีมากมายที่เราจะได้รับ แต่ทว่าหลายๆ คนที่ใช้บัตรเครดิต ก็ยังเลือกที่จะ จ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ อยู่ เพราะด้วยเหตุผล เช่น ไม่มีเงินจะจ่ายเต็มจำนวน ค่อยๆ ผ่อนคืนไปก็ได้ ซึ่งจะมาแนะนำให้ทราบถึงเรื่องของ จ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ ที่เราผู้ใช้บัตรเครดิตควรรู้ว่าจะมีผลอย่างไรตามมาบ้าง
เรื่องการเสียดอกเบี้ยจากการค้างชำระบัตรเครดิตนี้ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่เข้าใจผิดกันบ่อยมาก โดยสิ่งที่มักเข้าใจผิดก็คือ เมื่อเรารูดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต แล้ว จ่ายคืนไม่เต็มยอด หรือ จ่ายบัตรเครดิตขั้นต่ำ เราจะถูกคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่เราค้างจ่ายบัตรเครดิต หรือเรียกง่ายๆ ว่าเราเริ่มค้างจ่ายตั้งแต่วันไหน เราก็จะถูกคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันนั้น ซึ่งนี่ถือว่าเป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก
เพราะที่จริงแล้ว คือ เราจะถูกคิดดอกเบี้ยทันที (สูงสุด 20% ต่อปี) ตั้งแต่วันที่เราซื้อสินค้าหรือบริการโดยการรูดจ่ายด้วยบัตรเครดิต หรือ ตั้งแต่วันที่สถาบันการเงินเจ้าของบัตรได้จ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการแทนเรา โดยจะคิดเป็นรายวันจนกว่าเราจะชำระหนี้ที่ค้างอยู่จนหมด
ตัวอย่างเช่น เราซื้อเครื่องเกมเพลย์สเตชั่นโดยการรูดจ่ายด้วยบัตรเครดิต ไปเป็นเงิน 20,000 บาท ในวันที่ 8 มีนาคม 2561 เมื่อถึงกำหนดวันชำระคืนวันที่ 20 เมษายน 2561 แล้วเราทำการจ่ายชำระคืนไม่เต็มจำนวน โดยจ่ายคืนไปเพียง 10,000 บาท เมื่อเป็นแบบนี้เราก็จะถูกคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่เรารูดจ่ายด้วยบัตรไปทันที ก็คือเราจะโดนคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2561 นั่นเอง
ในความเป็นจริงนั้น ดอกเบี้ยจากบัตรเครดิตจะไม่ได้ถูกคิดเฉพาะส่วนที่เราค้างชำระ จากการจ่ายไม่เต็มจำนวนเท่านั้น แต่เราจะถูกคิดอกเบี้ยจากทั้ง “ ยอดเงินที่ค้างชำระ และ ยอดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดในรอบบัญชีนั้นๆ ด้วย ”
ตัวอย่างวิธีคิดดอกเบี้ย
ดอกเบี้ยส่วนแรก – คิดจากยอดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดในรอบบัญชีนั้น ยอดเงินที่ใช้ไปคือ 20,000 บาท ส่วนจำนวนวันที่จะนำมาคิดดอกเบี้ยจะเริ่มตั้งวันที่ 8 มีนาคม 2561 (วันที่เราใช้จ่าย) จนถึงวันก่อนที่ทางสถาบันการเงินเจ้าบัตรจะได้รับเงินจากเราคือ วันที่ 19 เมษายน 2561 รวมเป็นทั้งหมดเป็นระยะเวลา 43 วัน
ดอกเบี้ยส่วนแรกจะเท่ากับ 20,000 x 20% x 43 /365 = 471 บาท
ดอกเบี้ยส่วนที่สอง – คิดจากยอดเงินต้นที่ค้างชำระอยู่
ยอดเงินต้นที่ค้างชำระอยู่คือ 20,000 – 10,000 = 10,000 บาท จำนวนวันที่จะใช้ในการคิดดอกเบี้ยจะเริ่มตั้งแต่วันที่เราชำระเงินบางส่วน คือ วันที่ 20 เมษายน 2561 จนถึงวันสรุปยอดรายการในเดือนถัดไป ก็คือ วันที่ 5 พฤภาคม 2561 รวมเป็นทั้งหมดเป็นระยะเวลา 16 วัน ดอกเบี้ยส่วนที่สองจะเท่ากับ 10,000 x 20% x 16 /365 = 87 บาท
รวมยอดดอกเบี้ยทั้งหมดจะเท่ากับ 471 +87 = 558 บาท
หากว่าเรายังไม่รีบนำเงินไปปิดหนี้บัตรเครดิต ก็จะทำให้ยอดค้างชำระนี้ยังอยู่และถูกคิดดอกเบี้ยวนไปเรื่อยๆ นั่นเอง
หากว่าเรายังมียอดค้างชำระในบัตรเครดิตอยู่ แล้วนำบัตรเครดิตใบที่มียอดค้างชำระนั้นไปทำการใช้จ่าย ยอดการใช้จ่ายใหม่ที่เกิดขึ้นก็จะถูกคิดดอกเบี้ยไปด้วย เพราะว่าเราได้ถูกยกเลิกระยะเวลาปลอดดอกเบี้ยในรอบบัญชีถัดไปแล้ว
ดังนั้นจึงแนะนำให้หยุดใช้จ่ายบัตรเครดิตที่มียอดค้างชำระอยู่ไปก่อน แล้วรีบหาเงินมาจัดการปิดยอดที่ค้างชำระอยู่ให้หมดเสีย แล้วจากนั้นจึงค่อยเริ่มใช้บัตรเครดิตอีกครั้งจะเป้นการดีที่สุดครับ เพื่อให้เราไม่ถูกคิดดอกเบี้ยนั่นเอง