กฎหมาย จำกัดวงเงินบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล
ต้องบอกเลยว่าคงจะเป็นเรื่องที่น่าตกใจสำหรับมนุษย์เงินบัตรต่างๆ เพราะธนาคารแห่งประเทศไทย หรือแบงก์ชาติ
ได้ออกมาตรการคุมเข้ม ‘สินเชื่อบัตรเครดิต-สินเชื่อส่วนบุคคล’ ให้มีวงเงินที่ต่ำลง อันเนื่องมาจากบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ถือเป็นตัวที่สร้างหนี้สูงที่สุด
ทีนี้มาดูกันว่ามีมาตรการอะไรบ้างสำหรับบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้นจากกฏหมายใหม่นี้
มาตรการสินเชื่อบัตรเครดิต
- มาตรการสินเชื่อบัตรเครดิต กำหนดวงเงินแก่ผู้ขอมีบัตรให้เหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้แต่ละเดือน โดยผู้มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท จะได้วงเงินบัตรเครดิตไม่เกิน 1.5 เท่าของรายได้ (จากเดิม 15,000 บาทได้วงเงินต่ำกว่า 5 เท่าของรายได้ ) และมีบัตรเครดิตได้ไม่เกิน 3 ใบ
- มาตรการสินเชื่อบัตรเครดิต ส่วนของผู้มีรายได้ 30,000 – 50,000 บาท ได้วงเงินบัตรเครดิตไม่เกิน 3 เท่าของรายได้
- มาตรการสินเชื่อบัตรเครดิต ส่วนของผู้มีรายได้ 50,000 บาทขึ้นไป ได้วงเงินบัตรเครดิตไม่เกิน 5 เท่า
- ปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิต ลงเหลือ 18% จากเดิม 20% ให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจและต้นทุนของผู้ประกอบการลดลง
- ทั้งนี้มาตรการการปรับลดวงเงินดังกล่าวสำหรับผู้สมัครบัตรเครดิตรายใหม่เท่านั้น สำหรับผู้ที่เป็นลูกค้าบัตรเครดิตเก่าจะเริ่มใช้มาตรการเมื่อบัตรหมดอายุและออกบัตรใหม่ โดยถูกลดวงเงินตามเกณฑ์ดังกล่าว
- ขอเพิ่มวงเงินชั่วคราวเพื่อใช้ยามฉุกเฉินได้ตามความสามารถในการชำระหนี้
มาตรการสินเชื่อส่วนบุคคล
- มาตรการสินเชื่อส่วนบุคคล ได้ปรับวงเงินสินเชื่อแก่ผู้มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อเดือนให้วงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลไม่เกิน 1.5 เท่าของรายได้ ต่อผู้ให้บริการ 3 ราย
- มาตรการสินเชื่อส่วนบุคคล ส่วนของผู้มีรายได้ 30,000 บาทขึ้นไปต่อเดือน ได้วงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลไม่เกิน 5 เท่าของรายได้ แต่ไม่จำกัดจำนวนผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่จะให้สินเชื่อแก่ผู้บริโภคแต่ละราย
- ทั้งนี้สามารถขอวงเงินฉุกเฉินได้ไม่เกิน 5 เท่าของผู้ให้บริการแต่ละราย
- ทั้งนี้มาตรการสินเชื่อส่วนบุคลใหม่นี้ใช้เฉพาะกับลูกค้าผู้ขอสินเชื่อส่วนบุคคลใหม่ ผู้ขอสินเชื่อส่วนบุคลลเก่าจะไม่ได้รับผลกระทบ
- มาตรการสินเชื่อส่วนบุคคลดังกล่าวมีผลบังคับใช้กับสินเชื่อส่วนบุคลที่ไม่มีหลักประกันเช่น บัตรกดเงินสด ไม่รวมถึง สินเชื่อส่วนบุคคลที่มีหลักประกัน เช่น สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย, สินเชื่อรถ และสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกันประเภทอื่น อาทิ สินเชื่อเพื่อการศึกษา, สินเชื่อเพื่อสวัสดิการพนักงาน และสินเชื่อเพื่อการเดินทางไปทำงานต่างประเทศ เป็นต้น
คนไทยเริ่มเป็นหนี้เร็วขึ้น และเป็นหนี้เสียตั้งแต่อายุยังน้อย ครึ่งหนึ่งของคนอายุประมาณ 30 ปีมีหนี้ ส่วนใหญ่เป็นหนี้สินเชื่ออุปโภคบริโภค หรือสินเชื่อบุคคล และหนี้บัตรเครดิต และพบว่าลูกหนี้ที่อยู่ช่วงอายุ 29 ปี กลุ่มวัยทำงานเป็นกลุ่มที่มีปัญหาเป็นหนี้เสียมากถึง 1 ใน 5
ทั้งนี้มาตรการดังกล่าวถึงแม้ว่าอาจจะมีข้อกังขาในเรื่องของสภาพคล่องของผู้บริโภคที่คาดว่าน่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทางลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ใช้บัตรเครดิต เนื่องจากได้รับวงเงินบัตรเครดิตที่ต่ำลงและยากขึ้น แต่ก็ถือว่าเป็นมาตรการที่ออกมาเพื่อช่วยลดปัญหาสภาวะหนี้ครัวเรือน ร่วมถึงน่าจะช่วยแก้พฤติกรรมการใช้เงินให้ดีขึ้นได้ในอนาคต
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าคุณจะมีบัตรเครดิตหรือไม่มีบัตรเครดิต คุณควรเริ่มที่ตนเองด้วยการปรับมุมมองเพิ่มการออมให้มากขึ้น มีน้อยใช้น้อย มีมากก็ใช้พอประมาณ ใช้เงินให้เหมาะสมกับรายได้ ใช้เงินให้เกิดประโยชน์สูงสุดและจดบันทึกรายรับรายจ่าย
ที่มา/ธนาคารแห่งประเทศไทย