ค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต ทำไมต้องจ่าย แล้วต้องจ่ายเท่าไหร่

หัวข้อเด่นในเรื่องนี้

การที่จะสมัครบัตรเครดิตสักใบนั้นในสมัยนี้คงไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป เพราะคุณมีงานทำ อายุงานก็ขั้นต่ำ 3 เดือน ฐานเงินเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท ก็สามารถสมัครบัตรเครดิตได้แล้ว แต่ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขสถาบันการเงินนั้นๆ ว่าสมัครไปแล้วจะทำการอนุมัติให้คุณหรือไม่

การที่สมัครบัตรเครดิตแล้วทางสถาบันการเงินนั้นๆ อนุมัติมา แน่นอนจะต้องมี ค่าธรรมเนียม บัตรเครดิต จะจ่ายน้อยหรือจ่ายแพงก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงและเงื่อนไขของบริษัท ธนาคาร หรือสถาบันการเงินนั้นๆ

fees credit card

ทำไมต้องจ่าย ค่าธรรมเนียม บัตรเครดิต

เพราะว่าค่าธรรมเนียมคือ ค่าบริการที่มาจากบัตรเครดิต หมายความว่า มีการใช้บัตรเครดิตไม่ว่าจะเป็นการรูดซื้อสินค้า บริการต่างๆ หรือไม่ว่าซื้อด้วยเหตุใดๆ ก็ตาม ค่าเนียมนั้นจะถูกคิดขึ้นมาเหมือนกับว่าคุณใช้บัตรเครดิตในการจ่ายเงินเพื่อสิทธิประโยชน์ของตนเอง ค่าธรรมเนียมนั้นอาจจะถูกเก็บเป็นรายปี หรืออาจะมีบัตรเครดิตบางใบที่ยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียม

ประเภทของค่าธรรมเนียม

1. ค่าธรรมเนียมในการใช้วงเงิน

ค่าธรรมเนียมนี้จะถูกเรียกเก็บในทุกๆ รอบบิล หรือทุกๆ เดือน ค่าธรรมเนียมนี้จะถูกเรียกเก็บในจำนวนเงินที่ไม่มากนัก ประมาณ 3% ดังนั้นถ้าคุณได้รับบัตรเครดิตควรตรวจสอบเงื่อนไข ข้อกำหนด หรือข้อตกลงของธนาคาร บริษัท หรือสถาบันการเงินนั้นๆ ให้ดี เพราะบางที่เรียกเก็บ 15% แต่มีการเก็บเพิ่มอีก 3% ทำให้จำนวนเงินเรียกเก็บจริง 18% ต่อปี
ตัวอย่าง นาย ก. ถอนเงินสด 10,000 บาท วันที่ 27 มิ.ย. ชำระคืน 25 ก.ค. ค่าธรรมเนียมกดเงินสด 3% ของยอดเงินที่กดไป และทางผู้ออกบัตรเครดิตกำหนดดอกเบี้ยสำหรับการเบิกเงินสดนี้ 15%และกำหนดให้จ่ายค่าธรรมเนียมในการใช้วงเงินด้วยอีก 3% นาย ก. จะต้องจ่ายเงินทั้งหมดดังนี้
ค่าธรรมเนียม 3% ในการเบิกถอนเงินสดล่วงหน้า = (3% x 10,000) = 300 บาท (ยังไม่รวม VAT)

– ดอกเบี้ยระหว่างวันที่ 27 มิ.ย. ถึงวันสรุปยอดบัญชี วันที่ 7 ก.ค. (รวม 10 วัน)

  • = 10,000 x (15% + 3%) x 10 / 365
  • = 49.32 บาท

– ดอกเบี้ยระหว่างวันที่ 8 ก.ค. ถึง 26 ก.ค. (รวม 19 วัน)

  • = 10,000 x (15% + 3%) x 19 / 365 = 93.70
  • ดังนั้น รวมดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมทั้งหมด = 143.02 (49.32 + 93.70) (ยังไม่รวม VAT)

2. ค่าธรรมเนียมเบิกถอนเงินสดล่วงหน้า

สิทธิประโยชน์ที่สามารถให้บัตรเครดิตกดเงินผ่านตู้กดเงินได้ แต่การถอนเปรียบเสมือนการยืมเงินของธนาคารมาใช้ก่อน แน่นอนมีค่าธรรมเนียมในการกดอยู่ 3% ของเงินที่เบิกไป บวก VAT 7% การคำนวณดอกเบี้ยการถอนเงินสดนั้นจะถูกคิดตามตั้งแต่วันที่กดเงินออกไป ไม่มีระยะปลอดดอกเบี้ย 45-55 วัน เหมือนการรูดซื้อสินค้า
ตัวอย่าง ค่าธรรมเนียม 3% ในการเบิกถอนเงินสดล่วงหน้า = (3% x 10,000) = 300 บาท 300 x 7% = 21 บาท รวมค่าธรรมเนียมเบิกถอนเงินสดล่วงหน้า 321 บาท

3. ค่าธรรมเนียมรายปี

เรียกได้ว่าค่าธรรมเนียมรายปีอยู่คู่กับบัตรเครดิตแน่นอน ค่าธรรมเนียมรายปีจะร่วมต้นที่ประมาณ 500 บาท ถึง 50,000 ต่อปีขึ้นอยู่ในแต่ละบัตรและธนาคารนั้นๆ ยิ่งบัตรเครดิตอยู่ระดับสูง เช่น ระดับแพลตินัม ค่าธรรมเนียมก็จะสูงตามไปด้วย แต่ก็มีบางบริษัท บางสถาบันการเงินที่ไม่คิดค่าธรรมเนียมรายปี หรืองดเก็บค่าธรรมเนียมรายปีหากใชจ่ายผ่านบัตรเครดิตตามจำนวนเงินที่กำหนดภายในปีนั้น

ค่าธรรมเนียม

4. ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมต่างประเทศ

สำหรับคนที่ชอบท่องเที่ยวเดินทางต่างประเทศเพียงแค่มีบัตรคเครดิตพียงใบเดียวก็สามารถเดินทางได้สะดวกสบาย การใช้บัตรเครดิตทำให้คุณไม่ใช้เงินสด แต่คุณก็ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมในต่างประเทศ หรือ ค่าความเสี่ยงในการเปลี่ยนแปลงสกุลสูงสุดไม่เกิน 2.5%

5. ค่าธรรมเนียมการติดตามทวงถามหนี้

ค่าธรรมเนียมในการติดตามทวงถามหนี้สินนั้น จะเกดขึ้นมาคุณมียอดค้างหรือไม่จ่ายค่างวดตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ค่าติดตามทวงถามนั้นจะเริ่มตั้งแต่ 2 งวดขึ้นไป ในสัญญาจะมีการระบุค่าติดตามทวงถามไว้ด้วย จำนวนที่เรียกเก็บนั้นจะไม่เท่ากัน แล้วแต่สถาบันการเงิน โดยจะเริ่มต้นที่ 80 บาท แต่ไม่เกิน 250 บาท หรืออาจจะไม่มีการเรียกเก็บค่าติดตามทวงถาม ซึ่งจะมีการบวกเพิ่มเข้าไปในบิลที่เรียกเก็บในงวดถัดไปของคุณอัตโนมัติ

6. ค่าธรรมเนียมในการขอใบแจ้งยอดบัญชี

เรียกเก็บโดยผู้ออกบัตร แต่บางครั้งก็อาจจะงดเว้นในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม

7. ค่าธรรมเนียมการออกบัตรใหม่

ค่าธรรมเนียมจะเก็บจากผู้ออกบัตร แต่บางครั้งก็อาจจะงดเว้นในการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม

8. ค่าธรรมเนียมในการโอนหนี้

ถ้าคุณมีบัตรเครดิตอยู่แล้ว แต่ต้องการอัตราดอกเบี้ยใหม่และถูกลงหรือตราดอกเบี้ยเป็นศูนย์ สามารถทำได้โดยการโอนหนี้ยอดค้างชำระทั้งหมดไปที่บัตรใหม่ หากมีบัตรเครดิตหลายใบ ควรรวมหนี้ให้อยู่ในบัตรเครดิตใบเดียว เพื่อเป็นการทำให้คุณชำระหนี้ได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น ส่วนในค้าธรรมเนียมอยู่ที่ประมาณ 2% ขึ้นอยู่กับยอดหนี้ที่ต้องการโอน ยอดหนี้ที่จะโอนนั้นขึ้นอยู่กับวงเงินของบัตรเครดิตใบใหม่

แต่อย่างไรก็ตาม ค่าธรรมเนียม บัตรเครดิต นั้น ขึ้นอยู่กับตัวของเจ้าของบัตรเองว่าใช้จ่ายอะไรไปบ้าง ถ้ารู้ว่าบัตรเครดิตมีค่าธรรมเนียมต่างๆ แล้ว สามารถหลีกเลี่ยงได้ จะได้ไม่ต้องเสียเงินโดยใช่เหตุ แต่อย่างนั้นก็มีค่าธรรมเนียมบางรายการที่คุณต้องเสียเงินอยู่ดี เช่น ค่าธรรมเนียมติดตามทวงถามหนี้ เป็นต้น

เรียบเรียงโดย : 168creditcards.com

ขอบคุณข้อมูล : www.moneyguru.co.th