Home น่ารู้บัตรเครดิต อยากล้างเครดิตบูโรต้องทำอย่างไรบ้าง

อยากล้างเครดิตบูโรต้องทำอย่างไรบ้าง

by 168DigitalGroup

ก่อนที่จะเข้าสู้ขั้นตอนการล้างเครดิตบูโร คุณเองนั้นก็ต้องเข้าใจด้วยตัวเองเสีก่อนว่าสาเหตุที่แท้ของการติดเครดิตบูโรนั้นมาจากอะไร การติดเครดิตบูโรนันเกิดจากการ การเบี้ยวหนี้ จ่ายบ้างไม่จ่ายบ้าง หรือขาดส่ง ซึ่งการกระทำเหล่านี้ทำให้ประวัติขิงตัวคุณเองนั้นเสีย ส่งผลต่อความน่าเชื่อถือในอนาคต เครดิตบูโรมีอีกหนึ่งชื่อที่หลายๆคนนั้นคุ้นหูกันเป็นอย่างดี นั้นก็คือการติดแบล็กลิสสต์เครดิตบูโร

ล้างเครดิตบูโร

การจะติดเครดิตบูโรตลอดชีวิตนั้นไม่มีอยู่จริง ในเมื่ออนาคตคุณต้องการที่จะกู้สินเชื่อ และต้องการให้สถานที่การเงินนั้นอมุมัติคุณก็ต้องพยายามกู้คืนความน่าเชื่อถือด้วยวิธี 3 ข้อเหล่านี้

  1. ชดใช้หนี้ที่มีอยู่ให้หมด
  2. ไม่ล่าช้า
  3. ไม่ผิดนัดชำระ

เมื่อคุณพยายามชำระหนี้ตรงเวลาทุกครั้ง ประวัติการชำระเงินที่ดีตัวใหม่จะค่อยๆ แทนที่ประวัติที่ไม่ดีตัวเก่า เมื่อคุณชำระหนี้ตรงเวลาเป็นเวลา 3 ปี ประวัติเครดิตของตัวคุณเองจะกลับสู่สภาพที่ดีและน่าเชื่อถืออีกครั้ง ซึ่งเวลานั้นเองคุณจะสามารถกลับมากู้สินเชื่อได้อย่างสมบรูณ์แบบ

เครดิตบูโร คือ

สำนักสินเชื่อแห่งชาติหรือที่รู้จักกันดีในนาม “เครดิตบูโร” เป็นองค์กรที่มีหน้าที่ในการรวบรวมประวัติของลูกหนี้ทุกรายเท่านั้น โดยการเก็บบันทึกประวัติจากช่วงเวลาล่าสุดที่ผ่านมา 36 ครั้งหรือเป็นเวลา 3 ปี โดยได้รับข้อมูลนี้จากธนาคารและสถาบันการเงินที่เป็นเจ้าหนี้ภายในประเทศไทย ไม่รับผิดชอบต่อการขึ้นบัญชีดำลูกหนี้ใดๆทั้งนั้น

จะเห็นได้ว่าสินเชื่อใหม่ของคุณไม่ได้รับการอนุมัติ ไม่ได้เกิดจากบัญชีดำหรือเครดิตบูโร แต่เนื่องจากผู้ให้กู้ได้ตรวจสอบประวัติการชำระเงินของคุณจากเครดิตบูโรในระหว่างกระบวนการอนุมัติเครดิต และดูว่าคุณเป็นลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระเงินหรือชำระล่าช้าบ่อยครั้งหรือไม่ ซึ่งหากว่าคุณนั้นเป็นลูกหนี้ที่ไม่น่าเชื่อถือ จะพูดให้เข้าใจง่ายนั่นก็คือ คุณมีโอกาสสูงที่จะเบี้ยวหนี้ ทางสินเชื่อก็จะไม่ให้อนุมัติเครดิตสินเชื่อสำหรับคุณนั้นเอง

เครดิตบูโรเก็บข้อมูลอะไร

แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ

1.ข้อมูลส่วนตัวเกี่ยวกับลูกค้า

  • ชื่อ-สกุล
  • เลขที่บัตรประชาชน
  • ที่อยู่
  • วันเดือนปีเกิด
  • อาชีพ
  • สถานภาพการสมรส

จะไม่มีการเก็บข้อมูลอื่นๆ เช่น ประวัติคดีอาญาเกี่ยวกับคน ๆ หรือลักษณะทางร่างกาย ได้

2.เก็บประวัติการชำระสินค้า บริการโดยบัตรเครดิต (สินเชื่อ) ตามกฎหมาย

  • การกู้ยืมสินเชื่อบ้าน
  • สินเชื่อเงินสด
  • สินเชื่อส่วนบุคคล
  • ประวัติการจ่ายเงินเช่าซื้อรถยนต์ ลีสซิ่ง
  • การค้ำประกัน
  • การใช้ยืมหลักทรัพย์
  • การซื้อขายหลักทรัพย์ (โดยจะแสดงข้อมูลฝั่งของหนี้สินเท่านั้น)

*** แต่จะไม่แสดงข้อมูลที่เป็นทรัพย์สินของเรา

 

You may also like

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More