Home น่ารู้บัตรเครดิต ติดเครดิตบูโร ทำอย่างไร แก้อย่างไร

ติดเครดิตบูโร ทำอย่างไร แก้อย่างไร

by 168DigitalGroup

ในปัจจุบันบัตรเครดิต ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างหนึ่ง

ด้วยสังคมในปัจจุบันให้ค่านิยมกับสิ่งของ ความต้องการของคนจึงสูง แต่บางที่สิ่งของที่เราต้องการบางชิ้นอาจมีราคาที่สูงมาก ที่ไม่สามารถชื้อด้วยเงินสดได้ และข้อนี้คือการใช้บัตรเครดิตชื้อของ เพื่อให้ได้ทันความต้องการ ซื้อก่อนและค่อยชำระเป็นงวดภายหลัง แต่ถ้าหากไม่สามารถชำระหนี้ตามกำหนดได้ จึงก่อให้เกิดหนี้เสีย หรือหนี้สูญต่อธนาคาร

ในช่วงเวลาเหล่านี้ที่ตั้งแต่เราเริ่มใช้บัตรเครดิตเพื่อผ่อนชำระสิ่งที่เราต้องการ ทางเครดิตบูโรหรือชื่อทางการว่า “บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด” จะทำหน้าที่เก็บประวัติต่างๆ ของคนที่กู้เงิน จะชำระหรือไม่ชำระเลยหรือชำระช้าหรือชำระบางส่วน ทางเครดิตบูโรจะทำการบันทึกข้อมูล 1 ครั้งต่อเดือนตามสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละบัญชี ข้อมูลจะถูกบันทึกไว้จนกว่าจะมีผู้ต้องการกู้เงิน (เจ้าของบัญชี) ให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลต่อธนาคารหรือสถาบันการเงินที่ต้องการจะกู้ได้ดูและทราบถึงประวัติการชำระของผู้ขอกู้เงิน

เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการอนุมัติ หากชำระเงินตรงตามกำหนด จ่ายครบก็เพิ่มโอกาสในการอนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น แล้วถ้าหากเราเกิดมีประวัติการชำระเงินที่ไม่ตรงตามกำหนดหรือมีประวัติหนี้เสียจะแก้ไขอย่างไรดี จำเป็นต้องทราบก่อนว่าเครดิตบูโรในประเทศไทยเก็บข้อมูลไว้เพียง 3 ปี ตามกฎหมายเครดิตบูโรนั้นได้กำหนดให้เครดิตบูโรสามารถเก็บข้อมูลบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลได้ไม่เกินระยะเวลา 3 ปี และการบันทึกข้อมูลในรายงานจะมีรายการบันทึกของสินเชื่อทุกประเภทแต่ไม่เกิน 3 ปี

โดยปกติหากเราทำการชำระหนี้ในระบบการเงินตรงต่อเวลาจะไม่มีปัญหาอะไร แต่หากเรามีการชำระหนี้ล่าช้า 90 วัน ทางธนาคารหรือสถาบันการเงินจะทำการส่งจดหมายแจ้งเตือนให้ชำระหนี้ แต่หากยังเพิกเฉยหรือไม่ได้ชำระตามกำหนดการเราจะติดแบล็คลิสต์หรือติดเครดิตบูโรนั่นเอง

บัตรเครดิต

การติดเครดิตบูโรจะกระทบต่อการทำธุรกรรมการเงินต่างๆ เช่น การขอทำบัตรเครดิตใหม่หรือขอสินเชื่อต่างๆ ก็ไม่อาจสามารถทำได้ การแก้ที่ถูกต้องและดีที่สุดคือการชำระหนี้ที่ค้างให้หมด จากนั้นรอให้ประวัติการชำระของเราอัพเดทเข้าระบบและรอให้บัญชีของเราถูกปลดออกจากบัญชีค้างชำระ แต่ผู้กู้หลายคนก็ไม่สามารถชำระได้หมดเพียงครั้งเดียวก็ต้องทำการติดต่อกับธนาคารเพื่อขอผ่อนชำระหนี้ออกไป

เจรจากับธนาคารหรือสถาบันการเงินผู้ให้กู้

เมื่อผู้กู้ติดเครดิตบูโรและยังไม่สามารถชำระหนี้ได้หมดในครั้งเดียวให้ทำการ เจรจากับธนาคารหรือสถาบันการเงิน เพื่อขอผ่อนระยะเวลาในการชำระหนี้ออกไป ทั้งนี้เป็นการปรับโครงสร้างหนี้ใหม่

ชำระหนี้ให้ตรงเวลา

เมื่อผู้กู้ได้ทำการเจรจากับธนาคารและสถาบันการเงินสำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้กู้ควรตรวจนับวันและจดบันทึกวันให้ตรงกับกำหนดการจ่ายเงินต่อธนาคารและสถาบันการเงินผู้ให้กู้และควรเก็บเอกสารชำระหนี้ทั้งหมดทุกชิ้นไว้เป็นหลักฐานว่าเราได้ทำการชำระเงินแล้วในวันและเวลาใด เพื่อรักษาเครดิตที่ดีของผู้กู้นั่นเองและหลักฐานเหล่านี้สามารถนำไปยื่นให้เจ้าหน้าที่ดูได้เมื่อผู้กู้ต้องการจะทำการขอสินเชื่อใหม่หลังจากพ้นบัญชีค้างชำระไปแล้ว

ตรวจสอบข้อมูล

หลังจากทำการเคลียร์หนี้เครดิตบูโบและทำการรักษาเครดิตของเราให้ดีแล้วนั้น ต่อไปต้องทำการตรวจสอบข้อมูลด้วยตัวเองที่ “บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด” เพื่อทำการเช็คบัญชีของเราว่าทางธนาคารหรือสถาบันการเงินผู้ให้กู้เดิมของเราได้ทำการแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลสถานะหรือยัง

รักษาเครดิต

เมื่อถึงเวลาครบกำหนดรายชื่อบัญชีของคุณหายออกไปจากบัญชีค้างชำระแล้ว จนกระทั่งคุณได้ทำการยื่นขอทำบัตรเครดิตใหม่ คุณต้องทำการรักษาเครดิตของตนเองให้ดี โดยการชำระหนี้ให้ตรงกำหนด เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาติดเครดิตบูโรขึ้นอีก นอกจากนี้คุณยังสามารถทำธุรกรรมต่างๆ ได้ง่ายยิ่งขึ้น ตรงกันข้ามหากคุณเกิดติดเครดิตบูโรอีกครั้งคุณจะมีแนวโน้มในการทำธุรกรรมทางการเงินได้ยากยิ่งขึ้นเนื่องจากข้อมูลจะบอกถึงการติดเครดิตบูโรซ้ำซากของคุณ

ที่มา/k-dit

You may also like

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More