Home น่ารู้บัตรเครดิต ความรู้ทางกฎหมาย เบี้ยวหนี้บัตรเครดิตเจอหมายศาล จะมีโทษอย่างไร

ความรู้ทางกฎหมาย เบี้ยวหนี้บัตรเครดิตเจอหมายศาล จะมีโทษอย่างไร

by 168DigitalGroup

หากคุณเป็นหนี้บัตรเครดิต แต่ค้างชำระหนี้เกินระยะที่กำหนด

 เบี้ยวหนี้บัตรหรือไม่เคยชำระหนี้บัตรเครดิตเลย จนเจ้าหนี้หรือสถาบันทางการเงินฟ้องศาล คุณต้องเจอกับอะไร มีโทษอย่างไร ถูกฟ้องคดีหนี้บัตรเครดิต จะทำอย่างไร มีผลอย่างไร

คดีหนี้บัตรเครดิต

คดี “หนี้บัตรเครดิต” เป็นคดีแพ่ง คือการบังคับคดี บังคับยึดทรัพย์สินของลูกหนี้มาขายทอดตลาดเพื่อที่จะนำเงินมาชำระหนี้ (แต่ไม่มีโทษจำคุก) ยกเว้นแต่มีคดีอาญาร่วมอยู่ด้วย แต่เมื่อได้รับหมายศาลให้ให้ลูกหนี้ไปพบศาลตามที่นัดหมายเพื่อที่จะได้ตกลงหาทางออกที่ดีให้กั้งสองฝ่าย

เมื่อศาลนัด ส่วนใหญ่จะมีการไกล่เกลี่ยกันระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ก็ถ้าตกลงกันได้ว่าจะจ่ายเท่าไหร่ ไหวยังไง ก็ประนอมยอมความ และก็จ่ายตามข้อตกลง แต่ถ้าไม่ลงตัว ศาลก็จะมีการไกล่เกลี่ย อีกรอบ(ไกล่เกี่ยโดยศาล) เราก็ต้องแถลงต่อศาลเลยว่าเราไหวยังไงไหวเท่าไหร่ หรืออะไรยังไง ก็พยายามแสดงความจริง ขอความเห็นใจต่อศาลท่าน แต่ย้ำว่าต้องพูดความจริงเท่านั้น ไม่ใช่โกหกเพราะศาลอาจมีการส่งเจ้าหน้าที่มาดูก็เป็นได้

หลังจากที่ศาลนัดไกล่เกลี่ย แล้วตกลงกันได้แล้ว ศาลจะดูว่าลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตั้งแต่วันที่เท่าไหร่ วันถัดมาจะเริ่มนัเป็นอายุความ เรื่องของการฟ้องหนีบัตรเครดิตตองมีอายุความในการฟ้องภายใน 2 ปี นับจากวันที่ลุกหนี้ผิดนัด

ความรู้กฎหมายเกี่ยวกับบัตรเครดิต

ถ้าหากถูกฟ้องแล้วแพ้คดีจะโดนอะไรบ้าง

ยึดอะไร

ยึดทรัพย์สิน หรือการบังคับคดี ก็มีทั้งยึดได้และยึดไม่ได้เอาหลักๆ ก็ถ้าไม่จ่ายหนี้หลังจากศาลพิพากษา (กรณีไม่ได้มีการประนอมหนี้กัน หรือตกลงกันไม่ได้) ศาลจะตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อออกหมายยึด และอายัดต่อไป
ทรัพย์สินที่ยึดไม่ อาทิเช่น ทรัพย์สินที่เป็นของที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิต ของใช้ในครัว หม้อ(ยกเว้นหม้อทองคำ) ทีวี เก้าอี้
ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องมือทำมาหากิน เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องปริ๊น หม้อก๋วยเตี๋ยว รวมมูลค่า 100,000 บาทแรกห้ามยึด ต่อจากเรื่องยึด หลังจากแพ้คดีไปแล้ว

ทรัพย์สินที่ยึดได้หลักๆ ส่วนมากจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ อย่าง บ้าน รถยนต์ท่ดิน ทองคำ ซึ่งสินทรัพย์ที่สามารถขายทอดตลาดได้ เป็นทรัพย์สินที่บังคับคดีได้

อายัดอะไร

เรื่องอายัด ขอยกตัวอย่าง การอายัดเงินเดือนของกรมบังคับคดี หากลูกหนี้เป็นข้าราชการ ลูกจ้างประจำของข้าราชการจะไม่ถูกอายัดเงินเดือน หากเป็นลูกหนี้เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง หรือเป็นพนักงานบริษัท จะถูกอายัดเงินเดือนตามนี้

  • อายัดเงินเดือนไม่เกิน 30 %
  • ลุกหนี้เงินเดือนไม่ถึง 10,000 บาท (อายัดไม่ได้)
  • ลูกหนี้เงินเดือนเกิน 10,000 บาท อายัดได้ 30 % แต่จะต้องเหลือเงินให้ลุกหนี้ใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า 10,000 บาท
  • หากลุกหนี้มีค่าใช้จ่ายจำเป้นอื่นๆ เช่น ค่าเลี้ยงดุบุตร ค่ารักษาพยาบาล สามารถนำหนักฐานไปขอลดหย่อนที่กรมบังคับคดี
  • เพื่อให้ลดการอายัดเงินเดือนได้
  • เงินโบนัส จะถูกอายัดไม่เกิน 50 %
  • บัญชีเงินฝาก (อายัดได้)
  • เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ทำกับบริษัท (อายัดไม่ได้)

ทรัพย์สินของสามี – ภรรยา ยึดได้หรือไม่

การเป็นสามีหรือภรรยา ต้องเป็นสามีภรรยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย คือการจดทะเบียนสมรส ถ้าไม่ได้มีการจดทะเบียนสมรสที่เป็นการอยู่กินกันอย่างสามีภรรยาทรัพย์สินที่เป็นชื่อของคู่ที่อยุ่ด้วยกันนั้นจึงไม่สามารถบังคับคดียึดได้ เนื่องจากไม่ใช่สินสมรส ยึดได้แต่ทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น
ในทางกลับกันถ้าจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมายแล้ว การบังคับคดียึดทรัพย์สินก้สามารถยึดในส่วนอื่นๆ ที่เป็นของคู่สมรสได้

การประนอมหนี้

การประนอมนี้ ทั้งลูกหนี้และเจ้าหนี้ต้องหาทางออก และข้อตกลงร่วมกัน และการประนอมหนี้คือการที่เจ้าหนี้ให้โอกาสลูกหนี้ชำระหนี้ที่เบาลง หรือผ่อนปรนกันได้ ที่ต้องมีข้อตกลงร่วมกัน ที่ขึ้นอยู่กับทั้งสองฝ่าย

ที่กล่าวมาเป็นเพียงภาพรวมต่างๆ ซึ่งมีหลายคนที่กลัวการไปศาล หรือไม่กล้า เลยไม่ชำระหนี้ หนีหนี้เอาดื้อๆ แต่สุดท้ายนี้การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ

เรียบเรียงโดย/168เครดิตการ์ด
อ้างอิงจาก/kwamkidhen

You may also like

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More