Home น่ารู้บัตรเครดิต บัตรเครคิตมีระยะเวลาในการผ่อนส่งค่างวดอย่างไร?

บัตรเครคิตมีระยะเวลาในการผ่อนส่งค่างวดอย่างไร?

by 168DigitalGroup

เมื่อเราเข้าไปยังสถาบันการเงินหรือผู้ให้บริการบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสดก็ตามจะมีพนักงานคอยให้บริการให้คำแนะนำนำต่างๆเกี่ยวกับเรื่องที่คุณเข้าไปปรึกษาด้วยรอยยิ้มที่น่าประทับใจระหว่างการสนทนาเจ้าหน้าที่ก็จะบอกถึงเรื่องสิทธิพิเศษที่คุณจะได้รับต่างๆแล้วจบการพูดคุยด้วยคำว่า “ลูกค้ามีข้อสงสัยอะไรจะถามไหมค่ะ/ครับ” ซึ่งตอนนั้นก็จำในสิ่งที่เจ้าหน้าที่บอกได้อยู่หรอก แต่ก็ตอนออกมาจากที่นั่นเท่านั้นแหละข้อมูลบางส่วนมันก็เลือนรางจางหายไปอย่างไม่

รู้ตัวเลยทำให้เกิดความลังเลในการยืนยันบัตรเครดิตหรือการกดเงินออกมาใช้ เนื่องด้วยอาจลืมไปว่าเมื่อกดเงินมาใช้แล้วต้องผ่อนชำระกี่เดือน แล้วยอดเงินที่ส่งไปนั้นมีค่าใช้จ่ายอะไรเพิ่มเติมอีกที่นำไปรวมกับเงินต้น

การผ่อนส่งค่างวดบัตรเครดิต มีองค์ประกอบใดบ้าง

ก่อนที่จะด่วนสรุปเกี่ยวกับการส่งชำระค่างวดเราต้องมาทำความเข้าใจกันอีกครั้งก่อนว่าเมื่อเรากดเงินหรือรูดผ่อนชำระค่าสินค้าแล้วนอกจากเงินต้นยังมีค่าใช้จ่ายอะไรอีกบ้างที่รวมเข้าไปในแต่ละงวด อย่างแรกเลยกรณ๊บัตรกดเงินสดจะมีค่าธรรมเนียมในการกดเงินประมาณ 13 บาท/ครั้ง ซึ่งบัตรเครดิต หรือบัตรกดเงินสดส่วนมากจะมีระยะเวลาการผ่อนชำระค่างวดอยู่ที่ 10 เดือน นับแต่ตั้งเรากดเงินออกมาหรือรูดใช้บัตร และเริ่มทำการชำระค่างวดได้เลยในเดือนถัดไป มาดูกันว่าเราต้องจ่ายอะไรอีกบ้างที่รวมในยอดหนี้

ดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ ค่าธรรมเนียมไม่เกิน 28% /ปี

อัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 15% /ปี ค่าปรับ ค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมใดๆสูงสุดไม่เกิน 13% /ปี รวมแล้วต้องไม่เกิน 28% /ปี ซึ่งอัตราดอกเบี้ยรวมนี้จะบังคับใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมดของผู้ให้บริการบัตรเครดิต ซึ่งเราสามารถร้องเรียนได้หากมีสถาบันใดที่เรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าที่กำหนดไว้

ค่าธรรมเนียม

ค่าปรับคืออะไร

ค่าปรับเป็นเรื่องที่น่ากลัวมากหากเราไม่ชำระเงินให้กับสถาบันการเงินตรงตามเวลาที่เขากำหนดไว้ เพราะบริษัทจะต้องดำเนินเรื่องในการส่งใบแจ้งหนี้ หรือการติดตามทวงหนี้ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายทุกครั้งที่มีการแจ้งหนี้ส่วนของค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่ที่บริษัทกำหนด

ค่าบริการคืออะไร

ค่าบริการมีหลากหลายบริการค่าติดตามทวงหนี้ก็คือบริการ ยังมีค่าใช้จ่ายกรณีเช็คคืน ,ค่าออกบัตรใหม่กรณีเสียหายชำรุด ,ค่าขอใบแจ้งยอดบัญชีของแต่ละงวด ,ค่าตรวจสอบรายการ ,ค่าใช้จ่ายในการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร (คืนเงินส่วนต่างให้กรณีปิดยอด) เช่น ยอดคงเหลือ 120 บาท จ่ายไป 200 บาท ทางผู้ให้บริการจะโอนคืนให้ 80 ลบด้วยค่าดำเนินการ/ครั้ง

ค่าอากรแสตมป์

ค่าอากรแสตมป์เป็นค่าใช้ค่าที่เราจะต้องเสียให้กับหน่วยงานราชการ เช่น 1 บาททุกๆเงินกู้ 2,000 บาทหรือเศษของเงินกู้ เป็นต้น ซึ่งต้องจ่ายอย่างแน่นอนเพื่อช่วยในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

อากรแสตมป์

อากรแสตมป์

ค่าใช้จ่ายในการชำระเงิน

การชำระเงินจะมีอยู่ 2 วิธีด้วยกันนั่นก็คือ 1.การชำระเงินที่จุดชำระเงิน 2.การชำระเงินด้วยการหักในบัญชีเงินฝากอัตโนมัติ ซึ่งในแต่ละครั้งจะมีค่าบริการในการชำระอยู่ที่ 5-30 บาท/ครั้ง ขึ้นอยู่กับแต่ละแห่งที่กำหนดหรือเขตสำนักหักบัญชี

ค่าใช้จ่ายในการทวงหนี้

ความตรงเวลาในการจ่ายหนี้เป็นสิ่งสำคัญเพราะหากผู้ให้บริการบัตรเครดิตทำเรื่องแจ้งหนี้หรือตามทวงหนี้แล้วจะมีจ่ายใช้จ่ายที่เราต้องจ่ายให้เค้า ตัวอย่างเช่น 100 บาท/ครั้ง เพราะสถาบันการเงินก็มีต้นทุนในการติดตามทั้งค่าแรง ค่าน้ำมัน เพราะฉะนั้นต้องตรงเวลานะครับ กรณีนี้ไม่ต้องจ่ายหากไม่มีการแจ้งติดตามทวงหนี้

เขียนโดย: 168admin

You may also like

This website uses cookies to improve your experience. We'll assume you're ok with this, but you can opt-out if you wish. Accept Read More